การพัฒนาผลิตภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์พิลังกาสา ตำบลบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยรับใช้ชุมชนที่ได้ดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง  โดยมหาวิทยาลัยมีพื้นที่รับผิดชอบในกรุงเทพฯ 13 เขต และจังหวัดสมุทรปราการ 6 อำเภอ ในปีงบประมาณ 2567  กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ให้สมาชิกในชมชนได้นำความรู้ภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่น มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และความเจริญทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ที่รัฐบาลดำเนินงานในทั่วภูมิภาค เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล

และสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชมท้องถิ่นขึ้น เพื่อพัฒนาสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบทั้งในจังหวัดกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันได้ ช่วยให้ธุรกิจมีความมั่นคง สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีภารกิจในการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบในจังหวัดสมุทรปราการ ให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันได้ ช่วยให้ธุรกิจมีความมั่นคงสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัตภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเป็นการเสริมทักษะอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้แก่ชมชนทำให้สามารถช่วยการแก้ไขปัญหาความยากจน ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รายละเอียด
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครื่องมือตรวจเช็คตู้เย็น

1. หลักการและเหตุผล

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทคอนซูเมอร์โปรดัคต์โดยเฉพาะ ตู้เย็น มีใช้อยู่เกือบทุกครัว เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งย่อมชำรุดเสียหายไปตามกาลเวลา เช่น เกิดอาการเครื่องไม่ทำความเย็น ซึ่งเป็นอาการเสียหลัก ตู้เย็นรุ่นใหม่จะเป็นเรื่องยากสำหรับช่างซ่อมบริการและผู้มีประสบการณ์น้อยหรือเรียนรู้ไม่ทันกับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ช่างไม่สามารถซ่อมเครื่องได้ทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้  เนื่องจากมีระบบป้องกันต่างๆ เข้ามาควบคุมและสั่งการทำงานด้วยไอซีไมโครคอมพิวเตอร์หรือ CPU ที่ภายในบรรจุด้วยซอฟแวร์อัจฉริยะคอยตรวจสอบความผิดปกติของวงจรทุกภาคส่วนไว้อย่างครบถ้วน ดังนั้นการเรียนรู้ให้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การอบรมในครั้งนี้จะเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานซ่อมที่มีประสบการณ์ ชี้แนะและวิเคราะห์อาการเสียก่อนลงมือปฏิบัติการทำให้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดจะช่วยลดเวลาในการซ่อมและลดต้นทุนค่าอะไหล่ได้อย่างมาก นอกจากนี้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจซ่อมตู้เย็นก็มีความจำเป็นอย่างมาก การสร้างและเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือตรวจเช็คตู้เย็น จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้งานซ่อมตู้เย็นระบบธรรมดาและระบบอินเวอร์เตอร์ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี

    โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครื่องมือตรวจเช็คตู้เย็น จึงเป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเครื่องมือให้กับช่างซ่อมบริการเครื่องใช้ไฟฟ้าในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการใช้เครื่องมือตรวจเช็คตู้เย็นระบบธรรมดาและระบบอินเวอร์เตอร์ได้อย่างแม่นยำ สามารถสร้างรายได้จากอาชีพอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้า นั่นหมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมและเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ว่าด้วยเรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นแก้ไขความยากจนของประชาชนในเขตชนบท

รายละเอียด
โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประสานมิตร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีภาระกิจหลักคือการจัดการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม พัฒนาชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือผลิตบัณฑิต ให้มีความสามารถทั้งทักษะด้านสมรรถนะหลักซึ่งใช้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับชุมชนปัจจุบันกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ร่วมสร้างเครื่องมือที่ใช้พัฒนาทักษะให้กับนักศึกษา โดยใช้ชื่อว่า “เครื่องมือวิศวกรสังคม” และได้ทำการขยายผลในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุน จาก พณ.ท่านองคมนตรี ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นนักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักนวัตกร รองรับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าว โดยได้พัฒนาบุคลากรของทุกคณะให้เป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นักศึกษา และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคณะมีความพร้อมในการพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาโดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้จัดโครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมให้กับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม 

รายละเอียด
โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ชุมชนหมู่ 7 บางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีภาระกิจหลักคือการจัดการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม พัฒนาชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือผลิตบัณฑิต ให้มีความสามารถทั้งทักษะด้านสมรรถนะหลักซึ่งใช้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับชุมชนปัจจุบันกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ร่วมสร้างเครื่องมือที่ใช้พัฒนาทักษะให้กับนักศึกษา โดยใช้ชื่อว่า “เครื่องมือวิศวกรสังคม” และได้ทำการขยายผลในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุน จาก พณ.ท่านองคมนตรี ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นนักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักนวัตกร รองรับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าว โดยได้พัฒนาบุคลากรของทุกคณะให้เป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นักศึกษา และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคณะมีความพร้อมในการพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาโดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมให้กับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม 

รายละเอียด
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน้ำพริกและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยรับใช้ชุมชนที่ได้ดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่องโดยมหาวิทยาลัยมีพื้นที่รับผิดชอบในกรุงเทพฯ 13 เขต และจังหวัดสมุทรปราการ 6 อำเภอ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามนโยบายและเป้าหมายของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้หนึ่งในนโยบายที่สำคัญ คือ การยกระดับมาตรฐานชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งตามความถนัดและศักยภาพของอาจารย์ในกลุ่มของผู้เสนอโครงการ จึงได้วางแผนดำเนินโครงการพัฒนาอาหารประเภทน้ำพริกและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ให้แก่ชุมชนเป้าหมาย คือ  ชุมชนราชมนตรีร่วมใจ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค ช่วยขยายตลาด เพิ่มยอดขาย สร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารและการควบคุมคุณภาพการผลิตเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

รายละเอียด