1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสร้างทักษะในทางปฏิบัติ เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพ และกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนให้กับเพื่อนร่วมอาชีพ
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของโครงการเกิดการใช้นวัตกรรมทางด้านการประยุกต์ใช้ดิจิทัลในการผลิตและสร้างรายได้
ลดรายจ่ายของครัวเรือนต้นแบบ อย่างยั่งยืน
3. เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนสำหรับเพื่อร่วมอาชีพ
ในเขตพื้นที่ของครัวเรือนต้นแบบ
4. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของโครงการมีความรู้
ความเข้าใจ มีทักษะในทางปฏิบัติ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพแบบพึ่งตนเอง
อย่างยั่งยืน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงและแปรรูปชันโรง ตำบลบางน้ำผึ้ง 39/22 หมู่ที่ 9 ถนนเพชรหึงษ์ ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีการประกอบกิจการของกลุ่มโดยการเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงเป็นหลัก ทำให้ทางกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผึ้งชันโรงจำนวนมาก โดยเฉพาะ น้ำผึ้งชันโรงที่มีประโยชน์มาก ตัวอย่างเช่น มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (กรดฟีโนลิคสูง) ป้องกันเซลล์เสื่อมถอย ต้านเซลล์มะเร็ง และเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง เป็นต้น ทำให้ทางกลุ่มมีความสนใจและเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำผึ้งชันโรงขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ เช่น น้ำพิลังกาสาผสมน้ำผึ้งชันโรง และเค้กกล้วยหอมน้ำผึ้งชันโรง เป็นต้น แต่เนื่องจากทางกลุ่มมีผลผลิตน้ำผึ้งชันโรงจำนวนมาก จึงมีความต้องการแปรรูปน้ำผึ้งชันโรงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพิ่มขึ้น ประกอบกับทางกลุ่มมีความต้องการเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อเปิดขายผ่านช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Social Media เช่น TikTok และ Facebook เป็นต้น ของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงและแปรรูปชันโรงให้มีสินค้าหลากหลายจากผลผลิตของกลุ่ม และยังเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งผสมน้ำผึ้งชันโรง คัพเค้กครีมซอสลูกจากและครีมซอสมะนาวน้ำผึ้งชันโรง น้ำสลัดน้ำผึ้งชันโรงและน้ำสลัดซีฟู้ดน้ำผึ้งชันโรง และ ขนมชีสพายมูสครีมน้ำผึ้งชันโรง ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสู่แพลต์ฟอร์มออนไลน์ที่จะช่วยส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน คณะกรรมการดำเนินโครงการจึงจะจัดทำโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ : การยกระดับผลิตภัณฑ์ ที่จะสามารถมีส่วนทำให้เพิ่มรายได้ที่ยั่งยืนและมั่นคงแก่ชุมชนได้
การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ ถือเป็นการพลิกโฉมการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง
ด้านการประกอบอาชีพและพัฒนาอาชีพ เนื่องจากเป็นการเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เคยผ่านการฝึกและพัฒนาอาชีพให้มีมาตรฐาน
มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ ผ่านการนำวัตถุดิบ ทุนทางวัฒนธรรม ประเพณี
วิถีชีวิต ภูมิปัญญาต่าง ๆ ของชุมชนมาออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น
ตอบโจทย์ต่อนโยบายรัฐบาลที่หนุนเสริมเรื่องของ พลังสร้างสรรค์ (soft
power) มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก
โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว ด้านการแพทย์และสุขภาพ รวมถึงด้านอาหาร
ดังนั้นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจัดโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft
Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชน
Soft Power ด้วยองค์ความรู้อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ส่งเสริมให้ชุมชนนำอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพสูง
และสร้างการรับรู้ Soft Power จากอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น
ปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอยที่เกิดจากแหล่งที่พักอาศัย
โดยเฉพาะขยะจากบ้านเรือนซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะสดที่เป็นขยะมูลฝอยย่อยสลาย ได้แก่
เศษอาหาร เศษผัก และเศษผลไม้ การนำขยะเหล่านี้ไปกองไว้ไม่ว่า ณ
สถานที่แห่งใดก็จะเกิดการบูดเน่าส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งบ่มเพาะเชื้อโรคอย่างดี
ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์พาหะนำโรคแทบทุกชนิด ทั้งหนู นก และแมลงสาบ
สามารถนำเชื้อโรคเดินทางไปสู่แหล่งน้ำดื่ม แหล่งการเกษตร และแหล่งที่อยู่อาศัย
การนำขยะไปใช้ประโยชน์ที่นิยม คือการนำไปให้สุกรกิน ก่อนให้เกิดโรคอหิวาสุกร
การนำไปทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมัก ยังใช้ระยะเวลาที่ นานและมีประสิทธิภาพน้อย จากปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการจัดจำโครงการ
“การผลิตปุ๋ยจากเศษอาหารด้วยพลังงานแสงอาทิตย์” เพื่อลดการทิ้งขยะอินทรีย์
ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เชื้อโรคปนเปื้อนและปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศ
เพื่อช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรหรือผู้ที่ต้องการมีรายได้เสริม
มีรายได้จากการผลิตปุ๋ยชีวภาพและลดปัญหาขยะภายในบ้านเรือน รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีตลอดจนเป็นการลดปริมาณการตกค้างของสารเคมี
ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุน (Enabling Technology) ในการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560 - 2579) ที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระดับบุคคล
ระดับชุมชน และระดับประเทศ โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560 - 2564) และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ได้กำหนดแนวทางประเด็นปฏิรูป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความเท่าเทียม
การเติบโตอย่างมีส่วนร่วม โดยในระดับของชุมชน
เพื่อให้ลดความเหลื่อมล้ำของความยากจนและกระจายประโยชน์จากการพัฒนาไปสู่ประชาชนให้ทั่วถึงมากขึ้น
สังคมมีความสมดุลมากขึ้น โดยรัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านนวัตกรรม การพัฒนาคน
การให้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สร้างสารสนเทศและองค์ความรู้ต่างๆ ดังนั้นจึงได้จัดโครงการพัฒนาระบบดิจิทัลแพลฟอร์มสารสนเทศชุมชน
เทศบาลเมืองบางแก้ว อำบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
เพื่อเป็นการจัดเก็บฐานข้อมูลชุมชนให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน ทำให้ชุมชน และเทศบาลเมืองบางแก้ว
สามารถเข้าถึงข้อมูลชุมชน ในการวางแผนพัฒนาชุมชน โดยที่ประชาชนจะได้รับข้อมูลเพื่อร่วมกันคิดร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในชุมชนเกิดการพัฒนาชุมชนได้ตรงตามความต้องการของชุมชน