หญ้าสลาบหลวงเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่รกร้าง และบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำและริมบ่อดินสำหรับเลี้ยงปลานิลและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ บ้านคลองบางกะสี หมู่ที่ 7 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและหญ้าสลาบหลวงเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสารเคมีในดินได้อย่างต่อเนื่อง หญ้าสลาบหลวงเป็นทรัพยากรชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการผลิตเอทานอลและปุ๋ย เนื่องจากมีศักยภาพในการช่วยลดการใช้พลังงานที่ทำให้เกิดเป็นมลพิษในชุมชนและสิ่งแวดล้อม การใช้หญ้าสลาบหลวงในกระบวนการผลิต เอทานอลและปุ๋ยสามารถลดการใช้พลังงานบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การใช้หญ้าสลาบหลวงยังช่วยลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตบางอย่างได้ ทั้งนี้การลดการทำให้เกิดของเสียจากการผลิตก็เป็นประโยชน์อีกทางหนึ่งที่ได้จากการใช้หญ้าสลาบหลวงในการผลิตเอทานอลและปุ๋ย
สำหรับการสกัดเอทานอลจากหญ้าสลาบหลวงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและอาจใช้เวลานาน อย่างไรก็ตามในขั้นตอนแรกสามารถทำได้โดยนำหญ้าสลาบหลวงมาบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และผสมกับน้ำเพื่อให้เกิดการย่อยสลายในกระบวกการแรก (Milling and mixing) และต่อมานำสารละลายเฉพาะเติมลงในหญ้าสลาบหลวงเพื่อให้เกิดการย่อยสลายกลายเป็นแป้ง (a-amylase) หรือที่เรียกว่าเอนไซม์แอลฟาอะมิเลสในกระบวนที่สอง และถัดมานำสารละลายเฉพาะเติมลงในหญ้าสลาบหลวงเพื่อให้เกิดการย่อยสลายกลายเป็นแป้งครั้งสุดท้าย (Glucoamylase) หรือที่เรียกว่าเอนไซม์กลูโคอะมิเลส ในขณะเดียวกันก็จะเป็นกระบวนการเตรียมกล้าเชื้อ (Yeast proliferation) หรือที่เรียกว่ายีสต์ซึ่งเป็นขั้นตอนการหมัก (Fermentation) เพื่อเตรียมสกัดเป็นเอทานอลในขั้นตอนถัดไป ในทำนองเดียวกันสำหรับขั้นตอนถัดไปจะเป็นกระบวนการสกัด (Distillation) หรือเรียกว่าอีกอย่างว่ากระบวนการกลั่นซึ่งจะได้ฟูเซลออย์ (Fusel-oil) จากนั้นใช้วิธีการแยกน้ำ (Dehydration) หรือการกำจัดน้ำ ซึ่งจะได้เอทานอลโดยผ่านกลไกการแยกสารสกัดเพื่อทำให้ได้เอทานอลที่สะอาดบริสุทธิ์ 99% ในขณะเดียวกันในช่วงกระบวนการกลั่นจะได้น้ำกากส่า (Slop) ที่ประกอบด้วยยีสต์และน้ำเสียออกมาเพียงเล็กน้อยซึ่งเอทานอลที่ได้จากกระบวนการสกัดนี้จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตเชิงเคมีและเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ ได้
ในทำนองเดียวกัน การใช้หญ้าสลาบหลวงในการผลิตปุ๋ยก็เป็นอีกกระบวนการที่มีประโยชน์ต่อการจัดการของชุมชน หญ้าสลาบหลวงถูกนำมาผ่านนวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านโดยนำน้ำกากส่า (Slop) ที่ประกอบด้วยยีสต์และน้ำเสียเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำหรับพืช การใช้ปุ๋ยที่ผลิตจากหญ้าสลาบหลวงช่วยให้คุณภาพของดินดีขึ้นและช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ชุมชนมีทรัพยากรดินที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันแรงงานในการทำการเกษตรส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุจึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาการเกษตรให้มีความสะดวกและลดแรงงานลงโดยการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาช่วยและใช้แรงงานที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
คุณภาพของการทำเกษตรที่ผลิตได้จะมีคุณภาพมากขึ้น การนำระบบการทำเกษตรอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรจะก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนอย่างมาก
เนื่องจากระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติมีกระบวนการจัดการการควบคุมปริมาณความชื้นและอุณหภูมิการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
จึงถือเป็นโอกาสของคนในชุมชนที่จะทำให้การเกษตรมีคุณภาพที่ดีขึ้น การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรด้วยระบบท่อมีผลดีคือ
ทำให้มีการกระจายน้ำได้ทั่วถึงมีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปีในช่วงหน้าแล้ง
ใช้น้ำทางระบบท่อทำให้พืชผลทางการเกษตรได้ผลดี
การบริหารจัดการน้ำก็เป็นปัญหาร้ายแรงปัญหาหนึ่ง ทุกวันนี้ “ภัยแล้ง” กับ
“ภัยน้ำหลาก” เป็นภัยประจำปีสลับกันมาเยือนเมื่อยังไม่ถึงหน้าฝนก็จะขาดแคลนน้ำ
ครั้นถึงหน้าฝนน้ำก็จะหลากท่วม และจะเกิดขึ้นประจำตลอดปี
การจัดการทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำของชุมชนที่ผ่านมานั้น
มักมุ่งเน้นการจัดหาแหล่งน้ำในชุมชนหรือทรัพยากรในพื้นที่แหล่งน้ำมาใช้ตอบสนองความต้องการทางการเกษตรกลับกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสื่อมโทรมในระบบนิเวศและพื้นที่แหล่งน้ำอย่างหนัก
การส่งเสริมให้คนในชุมชนที่ได้ปลูกพืชผักการเกษตรและได้เข้าถึงการใช้เครื่องมือระบบการจัดการน้ำอัตโนมัติที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนเกษตรกรใช้ได้จริง
จะเป็นประโยชน์อย่างมากเครื่องมือที่นำมาใช้ปัจจุบันต้องมีความสะดวกรวดเร็วง่ายต่อการใช้งาน
โครงการติดตั้งระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติจึงเป็นการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นการแนะนำและหาวิธีให้เกษตรกรในชุมชนเข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามความสำเร็จของการทำการเกษตรต้องคำนึงถึงวิธีการผลิตของเกษตรกรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
เพื่อตอบสนองต่อคนในชุมชนที่ขาดความรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อทำการเกษตรและยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเพียงพอ
การจัดการระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติเพื่อการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนจะนำมาซึ่งการผลิตพืชผักสวนครัวให้ตรงตามความต้องการของคนในชุมชนจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
ทำให้ผลผลิตมีจำนวนมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น
การติดตั้งระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติเป็นส่วนหนึ่งในทางการเกษตร
ซึ่งสามารถทำให้เกษตรกรลดเวลา ลดแรงงาน ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลผลิต
โครงการติดตั้งระบบจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรนี้จึงมีเป้าหมายหลักคือ
การพัฒนาและส่งเสริมการจัดการระบบน้ำ
เพื่อการผลิตพืชผักสวนครัวที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาความรู้ความสามารถในการปลูกพืชผักที่ใช้ระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติให้มีคุณภาพและยั่งยืนต่อไป
ดังนั้นสาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการระบบราง
จึงจัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนหันมาสนใจในการทำระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติเพื่อพืชสมุนไพรทางการเกษตรในชุมชน
ลดเวลา ลดแรงงาน ลดต้นทุน
สร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนสนใจเรื่องการดูแลพืชสมุนไพรทางการเกษตร
และระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติง่ายต่อการปลูกพืชผักชนิดอื่นๆ
ที่ชุมชนต้องการปลูกเพื่อทำสมุนไพรต่อไป
ด้านผลผลิต
ผลผลิตที่ได้รับการยกระดับ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์เคยแกงเลียง
2. ผลิตภัณฑ์กะปิโหว่
3. ผลิตภัณฑ์กะปิหวาน
ด้านผลลัพธ์
วิสาหกิจชุมชนมีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงาน OTOP และผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ Facebook และ Tiktok
ชุมชน หมู่ 4 บ้านคลองสามแพรก ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ มีการริเริ่มจัดโครงการที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนมีการคัดแยกขยะ ร่วมกับชุมชนมีความต้องการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จึงได้มีการนำโครงการขยะเข้าดำเนินการในกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนในการจัดทำโครงการจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้มาใช้ในการดำเนินการใช้ในช่วงเริ่มต้น รูปแบบการดำเนินการของชุมชน คือเมื่อมีชาวบ้านนำขยะมาขาย ก็จะสามารถนำขยะมาขายแลกเป็นเงินหรือแลกเป็นสินค้าอุปโภค/บริโภคไปใช้แทน โดยชุมชนได้จัดตั้งร้านค้าของชุมชนขึ้นมีชื่อว่า “ร้าน 0 บาท” ในสโลแกนที่ว่า “ร้านไม่ต้องใช้เงิน...แค่มีวัสดุรีไซเคิล ก็แลกของได้แล้ว” และมีการดำเนินการโครงการมาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 2 ปี โดยขยะที่ชุมชนรับซื้อ เช่น ขวดพลาสติก แบ่งเป็น ขวดพลาสติกใส และขวดพลาสติกขุ่น กระดาษ แบ่งเป็น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษ A4 กระดาษขาว-ดำ และกระดาษลังน้ำตาล ขวดแก้ว แบ่งเป็น ขวดแก้วธรรมดา ขวดเบียร์ และขวดเหล้า และ กระป๋อง แบ่งเป็น กระป๋องเบียร์ และกระป๋องเหล็ก ถุงพลาสติก แบ่งเป็น ถุงพลาสติกขุ่น และถุงพลาสติกทั่วไป เป็นต้น
สำหรับการบริหารจัดการเงินของชุมชนในโครงการ แบ่งเป็น รายรับ ได้แก่ กำไรจากการขายขยะ และกำไรจากการรับแลกเครื่องอุปโภค/บริโภค และรายจ่าย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายจากการรับซื้อขยะจากคนในชุมชน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องอุปโภค/บริโภคของร้าน 0 บาท ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการดำเนินการ และค่าสาธารณูปโภค โดยชุมชนมีความต้องการให้การดำเนินการโครงการดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความต้องการที่กำลังจะดำเนินการต่อไปในอนาคต คือโครงการนี้ต้องสามารถนำมาใช้เป็นสวัสดิการของชุมชน กรณีเป็นเงินช่วยเหลือ เช่น เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือค่าทำศพของสมาชิกในชุมชน และยังสามารถแบ่งจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับชาวบ้านในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ปัญหาของการดำเนินการโครงการดังกล่าวคือ
คณะกรรมการดำเนินการโครงการของชุมชนขาดระบบสารสนเทศที่ใช้ในการดำเนินการ
และไม่มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของโครงการอย่างเป็นรูปธรรม
ทำให้ไม่สามารถที่จะวางแผนในการดำเนินงานโครงการเพื่อชุมชนในด้านต่างๆ
ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นได้ เช่น การจัดสวัสดิการของชุมชน
และการแบ่งจ่ายเงินปันผล ดังนั้น เพื่อให้ชุมชน หมู่ 4 บ้านคลองสามแพรก
ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดการข้อมูลขยะของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และส่งเสริมการสร้างรายได้แก่ชุมชนที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
คณะกรรมการดำเนินโครงการจึงจะจัดทำ โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลขยะที่ส่งเสริมการสร้างรายได้แก่ชุมชน
ที่จะช่วยให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมโครงการนำขยะมาขายแลกเป็นเงินหรือแลกเป็นสินค้าอุปโภค/บริโภค
ภายใต้ชื่อร้าน 0 บาท
ที่สามารถจัดการข้อมูลผลประกอบการดำเนินงานของโครงการได้อย่างครบถ้วน
ส่งผลให้คณะกรรมการชุมชนสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนต่อไปได้อย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
มีภาระกิจหลักคือการจัดการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการ
ทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม พัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือผลิตบัณฑิต ให้มีความสามารถทั้งทักษะด้านสมรรถนะหลักซึ่งใช้ในการประกอบอาชีพ
รวมถึงทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต
และอยู่ร่วมกับชุมชนปัจจุบันกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ร่วมสร้างเครื่องมือที่ใช้พัฒนาทักษะให้กับนักศึกษา
โดยใช้ชื่อว่า “เครื่องมือวิศวกรสังคม” และได้ทำการขยายผลในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุน จาก พณ.ท่านองคมนตรี ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
เพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นนักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักนวัตกร
รองรับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าว
โดยได้พัฒนาบุคลากรของทุกคณะให้เป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นักศึกษา
และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคณะมีความพร้อมในการพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาโดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมให้กับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม