คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีความพร้อมในทุกด้านเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เพื่อให้บรรลุตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ดำเนินการบริการวิชาการให้กับชุมชนย่านวังเดิม
ซึ่งเป็นชุมชนในเขตบางกอกใหญ่
จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 7
ชุมชน ได้แก่ ชุมชนปกอรุณ ชุมชนวัดโมลีโลกายาราม ชุมชนวัดนาคกลาง
ชุมชนวัดเครือวัลย์ ชุมชนวัดหงษ์รัตนาราม ชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ
และชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
ชุมชนย่านวังเดิมเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี
มีมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงเมืองเก่าทางสถาปัตยกรรมวัด โบราณสถาน
และภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชน ชุมชนย่านวังเดิมจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย คณะฯ มุ่งส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษตามบริบทของชุมชนย่านวังเดิม ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับชุมชนสู่สากล
เพื่อให้ชุมชนมีความพร้อม มีทักษะภาษาอังกฤษที่สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
การปฏิบัติงาน และประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
เป็นการยกระดับชุมชนสู่สากล
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาน้ำอุปโภคและบริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้แล้วจากแหล่งชุมชน
โรงงานอุตสาหกรรม และการเกษตร จะถูกปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น คู คลอง แม่น้ำ
ทำให้เกิดมลภาวะ น้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาจะมีสิ่งเจือปนในรูปของสารอินทรีย์
สารอนินทรีย์ ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในน้ำค่อนข้างน้อย และเมื่อถูกกักไว้ในบ่อตามธรรมชาติ
ไม่มีการไหลเวียน ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นขึ้น ก่อให้เกิดความรำคาญ
ซึ่งกระบวนการบำบัดน้ำเสียมีตั้งแต่กระบวนการง่ายๆ จนถึงกระบวนที่ยุ่งยากซับซ้อน
ในบางครั้งอาจต้องใช้หลายๆ กระบวนการในการบำบัดน้ำ จึงจะเกิดผลดี
การเติมออกซิเจนเพื่อปรับสภาพน้ำให้ดีขึ้น
ก็เป็นอีกวิธีที่นิยมใช้กับน้ำเสียที่ยังไม่อยู่ในขั้นวิกฤตที่ถูกกักอยู่ในแอ่งน้ำ
คู คลอง
ซึ่งน้ำเหล่านี้เราสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น รดน้ำต้นไม้
และการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสียมีอยู่หลายวิธี เช่น ระบบการเติมอากาศผิวน้ำโดยมีแผ่นใบพัดตีน้ำ
โดยอาศัยการหมุนของมอเตอร์ ระบบเติมแบบฟู่ โดยอาศัยการพ่นอากาศลงไปในน้ำ เป็นต้น
ปัจจุบัน ชุมชนบางกะเจ้า
มีแหล่งน้ำตาม คู คลอง เกิดการเน่าเสีย จึงมีแนวคิดที่สร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียให้กับชุมชนบางกะเจ้า
ให้ได้ใช้ประโยชน์ และรักษาน้ำ คู คลอง ของชุมชน ให้มีความสะอาดมากขึ้น
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
โดยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
เป็นหนึ่งในวาระการพัฒนาสำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ทั้งนี้
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี จึงต้องผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างมีคุณภาพ
ทั่วถึง และยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอและได้มาตรฐาน
ส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นระบบ
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ
ตลอดจนการขยายความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและเพิ่มการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
พื้นที่ชุมชนบางกอบัว
เป็นหนึ่งในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่กำลังประสบปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็มและปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนและภาคอุตสาหกรรม
การส่งเสริมให้ประชาชนมีองค์ความรู้ด้านการติดตามคุณภาพน้ำ
รวมทั้งมีการจัดเก็บรวมรวบข้อมูลที่เป็นระบบ
จึงมีความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำและป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่
ดังนั้นสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
จึงมีแนวคิดในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
และสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำแก่ชุมชน
และพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำในดัชนีชี้วัดที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนบางกอบัว
โดยระบบข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้คาดการณ์จุดวิกฤติ ด้านคุณภาพน้ำในพื้นที่ และสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
เลขที่ หมู่ 1 : ต.ศีรษะจรเข้น้อย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540