ค่าว จ๊อย ซอ เป็นศิลปะการขับร้องทำนองพื้นบ้านล้านนา เกิดจากการคิดค้นของผู้คนในอดีตที่หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือในภาษาถิ่นตรงกับคำว่า “ภูมิผญ๋า” ภูมิปัญญาเป็นเรื่องที่สั่งสมมาแต่อดีต ประเพณี วิถีชีวิต เป็นความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ มักแสดงออกเป็นคำพูดโต้ตอบกันเช่น การแอ่วสาว การถ้องซอ(การโต้ตอบกันระหว่างช่างซอชาย หญิง) คร่าว จ๊อย หรือเป็นคำสอนที่ปฏิบัติตามกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ค่าว จ๊อย ซอ จัดเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านล้านนา เป็นที่นิยมแพร่หลายในเขตจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยที่ใช้ภาษาล้านนาเป็นภาษาประจำถิ่น วรรณกรรมพื้นบ้านแบ่งประเภทตามลักษณะการถ่ายทอดหรือการสื่อสารต่อกัน ขับร้องเป้นท่วงท่าทำนองต่าง ๆ เพลง ฮ่ำ จ๊อยและซอ ภาษา สำนวน คำพังเพย หรือคำคมต่าง ๆ ปริศนาคำทาย คำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว หรือกำอู้บ่าวสาว เป็นต้น ในอดีตมักจะบันทึกด้วย อักษรธรรม และตัวอักษรฝักขาม มีเนื้อหาและรูปแบบของคำประพันธ์ที่หลากหลาย เช่นวรรณกรรมร้อยแก้วและวรรณกรรมร้อยกรอง คือ โคลง ร่าย และค่าว หรือค่าวซอเป็นต้น ปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที
ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมักจะอยู่ร่วมกับป่าและธรรมชาติและหากินดำรงชีพด้วยการปลูกพืชผักไว้ทานเองซึ่งยังรวมไปถึงการล่าสัตว์และกับดักจับสัตว์ป่า โดยจากการค้นหาข้อมูลให้รู้ว่าชาวกะเหรี่ยงมีวิธีการดักสัตว์ได้หลายรูปแบบซึ่งเหตุผลจากการสร้างส่วนหนึ่งมาจากสัตว์เหล่านี้ได้มาก่อกวนพืชไร่ที่ตนได้ปลูกไว้จนเกิดความเสียหายจึงได้สร้างเครื่องมือดักจับสัตว์ที่ช่วยแก้ปัญหาและยังนำสัตว์ที่ได้มาประกอบอาชีพได้อีกด้วย โดยอุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ 1.ไถ่ข๊าง ดี๊กึ๊ยเถิ่ย (แร้ว) เป็นแร้วดักไก่ป่าแบบใช้เหยื่อล่อ เมื่อไก่จิกเชือกก็จะกระตุกรัดคอจนตาย 2.ไถ่ข๊าง ลั่งเหว่ย (แร้ว) เป็นแร้วดักไก่ป่าแบบไก่เดินผ่านช่องทางแล้วรัดที่คอไก่ 3.อ็อกวุ่ย เป็นกระบอกดักตุ่นที่ทำมาจากลำไม้ไผ่ไว้ใช้ดักตุ่นที่อยู่ใต้ดิน โดยการดักสัตว์ชนิดนี้ต้องใช้ความรอบคอมเป็นอย่างมากเพราะสัตว์ชนิดนี้มักจะขี้ระแรงละจมูกดีมากในการดักจึงต้องนำเชือกมาชุบดินโคลนเพื่อดับกลิ่นและเป็นความกลมกลืนกับธรรมชาติ 4.อ็อกลึ้ย เป็นกระบอกดักกระรอกที่มีลักษณะคล้ายกับกระบอกดักตุ่นแต่จะมีกระบอกที่ยาวกว่ามักจะนำไปดักตามต้นไม้หรือทางเดินของกระรอก 5.กุหรุ (ด้วง) เป็นอุปกรณ์ดักแย้ที่วัสดุทั้งหมดทำมาจากไม้ไผ่เป็นหลัก
หาดชมดาว หรือ แก่งชมดาว ตั้งอยู่บ้านโนนตาล ตำบลโนนตาล มีลักษณะเป็นแนวหาดหินและแก่งหินกว้างใหญ่ ซึ่งในช่วงฤดูฝนแก่งหินเหล่านี้จะจมอยู่ใต้แม่น้ำโขง และด้วยกำลังแรงของกระแสน้ำ จึงกัดเซาะแก่งหินทำให้กลายเป็นแอ่งเล็กใหญ่จำนวนมาก เกิดเป็นประติมากรรมหินธรรมชาติรูปร่างแปลกตาชวนให้จินตนาการ หาดชมดาวมีจุดที่สวยสุดลักษณะเป็นผาหินสูงใหญ่และเว้าแหว่งยาวคล้ายช่องแคบ มีสายน้ำไหลผ่าน และมีก้อนหินเล็กกลางน้ำ สามารถเดินทางไปเยี่ยมชมหาดชมดาวได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม ของทุกปี เพราะระดับน้ำในแม่น้ำโขงยังไม่สูงมาก จะเห็นเกาะแก่งกลางน้ำชัดเจน การเดินทาง จากตัวอำเภอนาตาล ใช้ทางหลวงชนบท อบ. 4076 จนถึงสี่แยกจุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 2112 จากนั้นเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 2112 ตรงไปจนเลยหลักกิโลเมตรที่ 25 จะพบทางแยกขวามือ ให้เลี้ยวเข้าไป 2 กิโลเมตร ถึงทางลงไปหาดชมดาว หากมาจากตัวเมืองอุบลราชธานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่านอำเภอตระการพืชผล ตรงไปจนถึงป้อมตำรวจห้วยยาง ให้เลี้ยวขวาใช้ทางหลวงหมายเลข 2337 ตรงไปจนถึงจุดบรรจบระหว่างทางหลวงหมายเลข 2337 กับทางหลวงหมายเลข 2112 ให้เลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 2112 ตรงไปจนเลยหลักกิโลเมตรที่ 25 จะพบทางแยกขวามือ ให้เลี้ยวเข้าไป 2 กิโลเมตร ถึงทางลงไปหาดชมดาว รวมระยะทางจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 115 กิโลเมตร
นายภิญโญ แก้วแจ้ง ฉายาในวงการโนราคือ โนราภิญโญ สองหิ้ง มีที่มาจากการนับถือทั้งครูหมอหนังตะลุงและครูหมอโนรา เริ่มก่อตั้งคณะเป็นของตนเองตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยช่วงแรกจะเป็นเพียงคณะพรานภิญโญสองหิ้ง ปัจจุบันรับแสดงโนราโชว์และโนราพิธีกรรม
ศิลปินพื้นบ้านหมอลำที่เป็นที่รู้จักในนาม หมอลำทำเกษตร คือ นางอรุณรัตน์ จำปาเทศ หรือ หมอลำอรุณี พูลสว่าง ศิลปินพื้นบ้านหมอลำผู้สืบทอดการเป็นหมอลำมาจากบิดา คือ หมอลำสวัสดิ์ พูลสว่าง อดีตเจ้าของคณะหมอลำหมู่ ส.รุ่งเรืองศิลป์ แต่ได้เรียนลำกลอนจากหมอลำบุญมาก บ้านฝางคำ จึงได้เป็นศิลปินหมอลำกลอนวาดอุบล ปัจจุบันได้ตั้งศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ณ บ้านนาเจริญ ตำบลคันไร่ อำเภอ สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรในรูปแบบการแสดงศิลปะพื้นบ้าน หมอลำกลอนอุบล จนมีชื่อเสียง และมีลูกศิษย์เข้ามาเรียนลำด้วยหลายรุ่น นอกจากนี้ ในเขตอำเภอสิรินธร ยังมีกลุ่มศิลปินหมอลำชั้นครูที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปะพื้นบ้านแขนงนี้ ได้แก่ หมอลำสายทอง ไชยโกฏิ หมอลำอัมรา ต้นทอง รวมไปถึงหมอแคน ได้แก่ หมอแคนทองดี ไชยโกฏิ หมอแคนไพศาล แสงทอง เป็นต้น ด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ในอำเภอสิรินธรยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางศิลปะการแสดงพื้นบ้านหมอลำไว้อย่างเข้มแข็ง มีศิลปินพื้นบ้านรุ่นครู รุ่นกลาง และลูกศิษย์รุ่นใหม่ที่หมุนเวียนเข้ามาสืบทอดการแสดงหมอลำ ถึงแม้มีจำนวนไม่มากนักแต่ยังคงมีการสอบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลอนลำที่อนุรักษ์สืบทอดมานั้น เป็นหมอลำกลอนวาดอุบล หรือ ทำนองอุบล อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และถือได้ว่า ลำกลอนวาดอุบล เป็นกระบวนแบบการลำที่ได้รับการยอมรับว่ามีความไพเราะ มีระเบียบแบบแผน เนิบช้า ชัดถ้อยชัดคำ และได้รับความนิยมจากผู้ชมผู้ฟังอย่างกว้างขวาง (พรสวรรค์ พรดอนก่อ และ คณะ, 2560) และเป็นที่สังเกตว่าศิลปินหมอลำที่ได้รับการประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติในสาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (หมอลำ) ทั้ง 6 ท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นหมอลำวาดอุบลทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันในเขตอำเภอสิรินธรได้มีการอนุรักษ์ และสืบทอดหมอลำกลอนวาดอุบล และมีชื่อเสียงในนาม หมอลำทำเกษตร