กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงและแปรรูปชันโรง ตำบลบางน้ำผึ้ง 39/22 หมู่ที่ 9 ถนนเพชรหึงษ์ ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีการประกอบกิจการของกลุ่มโดยการเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงเป็นหลัก ทำให้ทางกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผึ้งชันโรงจำนวนมาก โดยเฉพาะ น้ำผึ้งชันโรงที่มีประโยชน์มาก ตัวอย่างเช่น มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (กรดฟีโนลิคสูง) ป้องกันเซลล์เสื่อมถอย ต้านเซลล์มะเร็ง และเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง เป็นต้น ทำให้ทางกลุ่มมีความสนใจและเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำผึ้งชันโรงขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ เช่น น้ำพิลังกาสาผสมน้ำผึ้งชันโรง และเค้กกล้วยหอมน้ำผึ้งชันโรง เป็นต้น แต่เนื่องจากทางกลุ่มมีผลผลิตน้ำผึ้งชันโรงจำนวนมาก จึงมีความต้องการแปรรูปน้ำผึ้งชันโรงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพิ่มขึ้น ประกอบกับทางกลุ่มมีความต้องการเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อเปิดขายผ่านช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Social Media เช่น TikTok และ Facebook เป็นต้น ของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงและแปรรูปชันโรงให้มีสินค้าหลากหลายจากผลผลิตของกลุ่ม และยังเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งผสมน้ำผึ้งชันโรง คัพเค้กครีมซอสลูกจากและครีมซอสมะนาวน้ำผึ้งชันโรง น้ำสลัดน้ำผึ้งชันโรงและน้ำสลัดซีฟู้ดน้ำผึ้งชันโรง และ ขนมชีสพายมูสครีมน้ำผึ้งชันโรง ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสู่แพลต์ฟอร์มออนไลน์ที่จะช่วยส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน คณะกรรมการดำเนินโครงการจึงจะจัดทำโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ : การยกระดับผลิตภัณฑ์ ที่จะสามารถมีส่วนทำให้เพิ่มรายได้ที่ยั่งยืนและมั่นคงแก่ชุมชนได้
ด้านผลผลิต
ผลผลิตที่ได้รับการยกระดับ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์เคยแกงเลียง
2. ผลิตภัณฑ์กะปิโหว่
3. ผลิตภัณฑ์กะปิหวาน
ด้านผลลัพธ์
วิสาหกิจชุมชนมีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงาน OTOP และผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ Facebook และ Tiktok
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
เป็นมหาวิทยาลัยรับใช้ชุมชนที่ได้ดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยมีพื้นที่รับผิดชอบในกรุงเทพฯ
13 เขต และจังหวัดสมุทรปราการ 6 อำเภอ
ในปีงบประมาณ 2567 กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน
ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
ให้สมาชิกในชมชนได้นำความรู้ภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่น
มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้
เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และความเจริญทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
OTOP ที่รัฐบาลดำเนินงานในทั่วภูมิภาค
เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล
และสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชมท้องถิ่นขึ้น
เพื่อพัฒนาสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบทั้งในจังหวัดกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ
ให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันได้ ช่วยให้ธุรกิจมีความมั่นคง
สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีภารกิจในการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบในจังหวัดสมุทรปราการ ให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันได้ ช่วยให้ธุรกิจมีความมั่นคงสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัตภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเป็นการเสริมทักษะอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้แก่ชมชนทำให้สามารถช่วยการแก้ไขปัญหาความยากจน ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
เป็นมหาวิทยาลัยรับใช้ชุมชนที่ได้ดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่องโดยมหาวิทยาลัยมีพื้นที่รับผิดชอบในกรุงเทพฯ
13 เขต และจังหวัดสมุทรปราการ 6 อำเภอ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามนโยบายและเป้าหมายของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้หนึ่งในนโยบายที่สำคัญ คือ
การยกระดับมาตรฐานชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งตามความถนัดและศักยภาพของอาจารย์ในกลุ่มของผู้เสนอโครงการ
จึงได้วางแผนดำเนินโครงการพัฒนาอาหารประเภทน้ำพริกและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์
ให้แก่ชุมชนเป้าหมาย คือ ชุมชนราชมนตรีร่วมใจ
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
เพื่อสร้างเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
ช่วยขยายตลาด เพิ่มยอดขาย สร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารและการควบคุมคุณภาพการผลิตเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นสู่แพลตฟอร์มออนไลน์