ปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอยที่เกิดจากแหล่งที่พักอาศัย
โดยเฉพาะขยะจากบ้านเรือนซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะสดที่เป็นขยะมูลฝอยย่อยสลาย ได้แก่
เศษอาหาร เศษผัก และเศษผลไม้ การนำขยะเหล่านี้ไปกองไว้ไม่ว่า ณ
สถานที่แห่งใดก็จะเกิดการบูดเน่าส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งบ่มเพาะเชื้อโรคอย่างดี
ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์พาหะนำโรคแทบทุกชนิด ทั้งหนู นก และแมลงสาบ
สามารถนำเชื้อโรคเดินทางไปสู่แหล่งน้ำดื่ม แหล่งการเกษตร และแหล่งที่อยู่อาศัย
การนำขยะไปใช้ประโยชน์ที่นิยม คือการนำไปให้สุกรกิน ก่อนให้เกิดโรคอหิวาสุกร
การนำไปทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมัก ยังใช้ระยะเวลาที่ นานและมีประสิทธิภาพน้อย จากปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการจัดจำโครงการ
“การผลิตปุ๋ยจากเศษอาหารด้วยพลังงานแสงอาทิตย์” เพื่อลดการทิ้งขยะอินทรีย์
ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เชื้อโรคปนเปื้อนและปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศ
เพื่อช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรหรือผู้ที่ต้องการมีรายได้เสริม
มีรายได้จากการผลิตปุ๋ยชีวภาพและลดปัญหาขยะภายในบ้านเรือน รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีตลอดจนเป็นการลดปริมาณการตกค้างของสารเคมี
หญ้าสลาบหลวงเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่รกร้าง และบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำและริมบ่อดินสำหรับเลี้ยงปลานิลและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ บ้านคลองบางกะสี หมู่ที่ 7 ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและหญ้าสลาบหลวงเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสารเคมีในดินได้อย่างต่อเนื่อง หญ้าสลาบหลวงเป็นทรัพยากรชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการผลิตเอทานอลและปุ๋ย เนื่องจากมีศักยภาพในการช่วยลดการใช้พลังงานที่ทำให้เกิดเป็นมลพิษในชุมชนและสิ่งแวดล้อม การใช้หญ้าสลาบหลวงในกระบวนการผลิต เอทานอลและปุ๋ยสามารถลดการใช้พลังงานบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การใช้หญ้าสลาบหลวงยังช่วยลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตบางอย่างได้ ทั้งนี้การลดการทำให้เกิดของเสียจากการผลิตก็เป็นประโยชน์อีกทางหนึ่งที่ได้จากการใช้หญ้าสลาบหลวงในการผลิตเอทานอลและปุ๋ย
สำหรับการสกัดเอทานอลจากหญ้าสลาบหลวงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและอาจใช้เวลานาน อย่างไรก็ตามในขั้นตอนแรกสามารถทำได้โดยนำหญ้าสลาบหลวงมาบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และผสมกับน้ำเพื่อให้เกิดการย่อยสลายในกระบวกการแรก (Milling and mixing) และต่อมานำสารละลายเฉพาะเติมลงในหญ้าสลาบหลวงเพื่อให้เกิดการย่อยสลายกลายเป็นแป้ง (a-amylase) หรือที่เรียกว่าเอนไซม์แอลฟาอะมิเลสในกระบวนที่สอง และถัดมานำสารละลายเฉพาะเติมลงในหญ้าสลาบหลวงเพื่อให้เกิดการย่อยสลายกลายเป็นแป้งครั้งสุดท้าย (Glucoamylase) หรือที่เรียกว่าเอนไซม์กลูโคอะมิเลส ในขณะเดียวกันก็จะเป็นกระบวนการเตรียมกล้าเชื้อ (Yeast proliferation) หรือที่เรียกว่ายีสต์ซึ่งเป็นขั้นตอนการหมัก (Fermentation) เพื่อเตรียมสกัดเป็นเอทานอลในขั้นตอนถัดไป ในทำนองเดียวกันสำหรับขั้นตอนถัดไปจะเป็นกระบวนการสกัด (Distillation) หรือเรียกว่าอีกอย่างว่ากระบวนการกลั่นซึ่งจะได้ฟูเซลออย์ (Fusel-oil) จากนั้นใช้วิธีการแยกน้ำ (Dehydration) หรือการกำจัดน้ำ ซึ่งจะได้เอทานอลโดยผ่านกลไกการแยกสารสกัดเพื่อทำให้ได้เอทานอลที่สะอาดบริสุทธิ์ 99% ในขณะเดียวกันในช่วงกระบวนการกลั่นจะได้น้ำกากส่า (Slop) ที่ประกอบด้วยยีสต์และน้ำเสียออกมาเพียงเล็กน้อยซึ่งเอทานอลที่ได้จากกระบวนการสกัดนี้จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตเชิงเคมีและเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ ได้
ในทำนองเดียวกัน การใช้หญ้าสลาบหลวงในการผลิตปุ๋ยก็เป็นอีกกระบวนการที่มีประโยชน์ต่อการจัดการของชุมชน หญ้าสลาบหลวงถูกนำมาผ่านนวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านโดยนำน้ำกากส่า (Slop) ที่ประกอบด้วยยีสต์และน้ำเสียเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำหรับพืช การใช้ปุ๋ยที่ผลิตจากหญ้าสลาบหลวงช่วยให้คุณภาพของดินดีขึ้นและช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ชุมชนมีทรัพยากรดินที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันแรงงานในการทำการเกษตรส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุจึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาการเกษตรให้มีความสะดวกและลดแรงงานลงโดยการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาช่วยและใช้แรงงานที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
คุณภาพของการทำเกษตรที่ผลิตได้จะมีคุณภาพมากขึ้น การนำระบบการทำเกษตรอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรจะก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนอย่างมาก
เนื่องจากระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติมีกระบวนการจัดการการควบคุมปริมาณความชื้นและอุณหภูมิการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
จึงถือเป็นโอกาสของคนในชุมชนที่จะทำให้การเกษตรมีคุณภาพที่ดีขึ้น การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรด้วยระบบท่อมีผลดีคือ
ทำให้มีการกระจายน้ำได้ทั่วถึงมีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปีในช่วงหน้าแล้ง
ใช้น้ำทางระบบท่อทำให้พืชผลทางการเกษตรได้ผลดี
การบริหารจัดการน้ำก็เป็นปัญหาร้ายแรงปัญหาหนึ่ง ทุกวันนี้ “ภัยแล้ง” กับ
“ภัยน้ำหลาก” เป็นภัยประจำปีสลับกันมาเยือนเมื่อยังไม่ถึงหน้าฝนก็จะขาดแคลนน้ำ
ครั้นถึงหน้าฝนน้ำก็จะหลากท่วม และจะเกิดขึ้นประจำตลอดปี
การจัดการทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำของชุมชนที่ผ่านมานั้น
มักมุ่งเน้นการจัดหาแหล่งน้ำในชุมชนหรือทรัพยากรในพื้นที่แหล่งน้ำมาใช้ตอบสนองความต้องการทางการเกษตรกลับกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสื่อมโทรมในระบบนิเวศและพื้นที่แหล่งน้ำอย่างหนัก
การส่งเสริมให้คนในชุมชนที่ได้ปลูกพืชผักการเกษตรและได้เข้าถึงการใช้เครื่องมือระบบการจัดการน้ำอัตโนมัติที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนเกษตรกรใช้ได้จริง
จะเป็นประโยชน์อย่างมากเครื่องมือที่นำมาใช้ปัจจุบันต้องมีความสะดวกรวดเร็วง่ายต่อการใช้งาน
โครงการติดตั้งระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติจึงเป็นการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นการแนะนำและหาวิธีให้เกษตรกรในชุมชนเข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามความสำเร็จของการทำการเกษตรต้องคำนึงถึงวิธีการผลิตของเกษตรกรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
เพื่อตอบสนองต่อคนในชุมชนที่ขาดความรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อทำการเกษตรและยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเพียงพอ
การจัดการระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติเพื่อการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนจะนำมาซึ่งการผลิตพืชผักสวนครัวให้ตรงตามความต้องการของคนในชุมชนจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
ทำให้ผลผลิตมีจำนวนมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น
การติดตั้งระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติเป็นส่วนหนึ่งในทางการเกษตร
ซึ่งสามารถทำให้เกษตรกรลดเวลา ลดแรงงาน ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลผลิต
โครงการติดตั้งระบบจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรนี้จึงมีเป้าหมายหลักคือ
การพัฒนาและส่งเสริมการจัดการระบบน้ำ
เพื่อการผลิตพืชผักสวนครัวที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาความรู้ความสามารถในการปลูกพืชผักที่ใช้ระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติให้มีคุณภาพและยั่งยืนต่อไป
ดังนั้นสาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการระบบราง
จึงจัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนหันมาสนใจในการทำระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติเพื่อพืชสมุนไพรทางการเกษตรในชุมชน
ลดเวลา ลดแรงงาน ลดต้นทุน
สร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนสนใจเรื่องการดูแลพืชสมุนไพรทางการเกษตร
และระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติง่ายต่อการปลูกพืชผักชนิดอื่นๆ
ที่ชุมชนต้องการปลูกเพื่อทำสมุนไพรต่อไป
1.
หลักการและเหตุผล
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทคอนซูเมอร์โปรดัคต์โดยเฉพาะ
ตู้เย็น มีใช้อยู่เกือบทุกครัว
เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งย่อมชำรุดเสียหายไปตามกาลเวลา เช่น
เกิดอาการเครื่องไม่ทำความเย็น ซึ่งเป็นอาการเสียหลัก ตู้เย็นรุ่นใหม่จะเป็นเรื่องยากสำหรับช่างซ่อมบริการและผู้มีประสบการณ์น้อยหรือเรียนรู้ไม่ทันกับเทคโนโลยีใหม่
ทำให้ช่างไม่สามารถซ่อมเครื่องได้ทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้ เนื่องจากมีระบบป้องกันต่างๆ
เข้ามาควบคุมและสั่งการทำงานด้วยไอซีไมโครคอมพิวเตอร์หรือ CPU ที่ภายในบรรจุด้วยซอฟแวร์อัจฉริยะคอยตรวจสอบความผิดปกติของวงจรทุกภาคส่วนไว้อย่างครบถ้วน
ดังนั้นการเรียนรู้ให้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การอบรมในครั้งนี้จะเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานซ่อมที่มีประสบการณ์
ชี้แนะและวิเคราะห์อาการเสียก่อนลงมือปฏิบัติการทำให้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดจะช่วยลดเวลาในการซ่อมและลดต้นทุนค่าอะไหล่ได้อย่างมาก
นอกจากนี้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจซ่อมตู้เย็นก็มีความจำเป็นอย่างมาก
การสร้างและเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือตรวจเช็คตู้เย็น จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้งานซ่อมตู้เย็นระบบธรรมดาและระบบอินเวอร์เตอร์ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี
โครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครื่องมือตรวจเช็คตู้เย็น” จึงเป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเครื่องมือให้กับช่างซ่อมบริการเครื่องใช้ไฟฟ้าในชุมชนให้มีความรู้
ความเข้าใจ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการใช้เครื่องมือตรวจเช็คตู้เย็นระบบธรรมดาและระบบอินเวอร์เตอร์ได้อย่างแม่นยำ
สามารถสร้างรายได้จากอาชีพอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้า นั่นหมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมและเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ว่าด้วยเรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นแก้ไขความยากจนของประชาชนในเขตชนบท
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาน้ำอุปโภคและบริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้แล้วจากแหล่งชุมชน
โรงงานอุตสาหกรรม และการเกษตร จะถูกปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น คู คลอง แม่น้ำ
ทำให้เกิดมลภาวะ น้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาจะมีสิ่งเจือปนในรูปของสารอินทรีย์
สารอนินทรีย์ ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในน้ำค่อนข้างน้อย และเมื่อถูกกักไว้ในบ่อตามธรรมชาติ
ไม่มีการไหลเวียน ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นขึ้น ก่อให้เกิดความรำคาญ
ซึ่งกระบวนการบำบัดน้ำเสียมีตั้งแต่กระบวนการง่ายๆ จนถึงกระบวนที่ยุ่งยากซับซ้อน
ในบางครั้งอาจต้องใช้หลายๆ กระบวนการในการบำบัดน้ำ จึงจะเกิดผลดี
การเติมออกซิเจนเพื่อปรับสภาพน้ำให้ดีขึ้น
ก็เป็นอีกวิธีที่นิยมใช้กับน้ำเสียที่ยังไม่อยู่ในขั้นวิกฤตที่ถูกกักอยู่ในแอ่งน้ำ
คู คลอง
ซึ่งน้ำเหล่านี้เราสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น รดน้ำต้นไม้
และการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสียมีอยู่หลายวิธี เช่น ระบบการเติมอากาศผิวน้ำโดยมีแผ่นใบพัดตีน้ำ
โดยอาศัยการหมุนของมอเตอร์ ระบบเติมแบบฟู่ โดยอาศัยการพ่นอากาศลงไปในน้ำ เป็นต้น
ปัจจุบัน ชุมชนบางกะเจ้า
มีแหล่งน้ำตาม คู คลอง เกิดการเน่าเสีย จึงมีแนวคิดที่สร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียให้กับชุมชนบางกะเจ้า
ให้ได้ใช้ประโยชน์ และรักษาน้ำ คู คลอง ของชุมชน ให้มีความสะอาดมากขึ้น